สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เผยแพร่ รายงานองค์การอนามัยโลก (WHO) โดยผู้เชี่ยวชาญนานาชาติรวม 25 คน ที่เข้าไปในจีน หลังจากปฏิบัติงานผ่านไป 9 วัน แปลโดย ดร.นำชัย ชีววิวรรธน์, ฝ่ายสร้างสรรค์สื่อและผลิตภัณฑ์ สวทช.
โดยขอยกสรุปบางส่วนที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ เพื่อเป็นการสร้างความรู้และ ความเข้าใจแก่ประชาชน
- ส่วนใหญ่ (78-85%) เกิดจากการติเชื้อกันในครอบครัวจากละอองเสมหะ (droplet) ไม่ใช่จากการกระจายจากละอองลอย (aerosol) เป็นหลัก
- ผู้ป่วยราว 80% อาการไม่หนัก มีโรงพยาบาลชั่วคราว 10 แห่งที่ปรับใช้จากการดัดแปลงยิมเนเซียม และห้องจัดแสดงนิทรรศการ
- อาการที่พบบ่อยที่สุดคือ มีไข้ (88%) ไอแห้งๆ (68%) ไม่มีเรี่ยวแรง (38%) ไอแบบมีเสมหะ (33%) หายใจลำบาก (18%) เจ็บคอ (14%) ปวดหัว (14%) ปวดกล้ามเนื้อ (14%) หนาวสั่น (11%) อาการที่พบน้อยลงคือ คลื่นไส้และอาเจียน (5%) คัดจมูก (5%) และท้องเสีย (4%)
- อาการที่ไม่ใช่สัญญาณของการเกิดโรคโควิด-19 คือ น้ำมูกไหล
- อัตราการเสี่ยงที่จะเสียชีวิตได้ง่ายขึ้นอยู่กับ อายุ, สภาพร่างกายก่อนติดเชื้อ, เพศ และระบบสุขภาพที่รับมือโรค
- วิธีการรับมือที่สำคัญอย่างแรกที่จะช่วยหยุดยั้งเชื้อโรค คือ ทำให้จำนวนผู้ป่วยที่มีอาการหนักมีจำนวนน้อยลง และรองลงมาคือ การเพิ่มจำนวนเตียง (รวมทั้งวัสดุและบุคลากร) จนกว่าจะมีเพียงพอสำหรับผู้ป่วยอาการหนัก
- อายุ : ยิ่งอายุน้อย การติดเชื้อค่อนข้างยาก และแม้จะติดเชื้อ ก็ไม่ได้ป่วยอาการหนักเหมือนผู้สูงอายุ
- เพศ : ผู้หญิงมีโอกาสติดเชื้อเท่าๆกับผู้ชาย มีหญิงชาวจีนติดเชื้อและเสียชีวิตเพียง 8% เท่านั้น ในขณะที่ผู้ชายราว 4.7% เสียชีวิต
- เชื้อไวรัสนี้รุนแรงในกลุ่มผู้หญิงมีครรภ์มากกว่ากลุ่มอื่น
รายงานสรุปว่า “ปรากฏการณ์ลดลงของจำนวนผู้ป่วยโควิด-19 ในจีนน่าจะเป็นเรื่องจริง” อันเนื่องจากในเขตที่ระบาด ผู้ป่วยที่ไปโรงพยาบาลมีจำนวนลดลง, จำนวนเตียงที่ว่างเพิ่มขึ้น และได้มีการสัมภาษณ์คนที่ติดเชื้อทุกคนทั่วประเทศ เกี่ยวกับคนที่เคยสัมผัส และทดสอบคนกลุ่มดังกล่าวแล้ว และนอกเมืองอู่ฮั่นด้วยเช่นเดียวกัน
สุดท้ายนี้ นี่คือ คำกล่าวส่วนน้อยที่มาจากรายงานนี้
“จีนได้พยายามควบคุมการแพร่ระบาดของโรคอย่างถึงที่สุด ชุมชนส่วนใหญ่บนโลกยังไม่พร้อมรับมือเรื่องนี้ ทั้งในแง่ของวิธีคิดและทางเครื่องใช้ไม้สอย และยังไม่พร้อมที่จะใช้มาตรการควบคุมโควิด-19 แบบในจีน ที่สามารถหยุดยั้งการแพร่เชื้อเป็นลูกโซ่ต่อถึงกันในมนุษย์ได้ ซึ่งพื้นฐานของมาตรการต่างๆ เหล่านี้ก็คือ การเฝ้าระวัง ตรวจหาผู้ติดเชื้อ และวินิจฉัยโรคให้ไวที่สุด และการแยกผู้ป่วยทันที ทำการติดตามผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด และการกักกันตัวผู้ที่ติดต่อใกล้ชิด รวมไปถึงการสร้างความรู้ความเข้าใจ ให้กับประชาชน”
ขอบคุณข้อมูลจากเพจ TCIJ ออนไลน์
Comments
0 comments