เมื่อ 29 ก.พ. ที่ผ่านมา กระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศให้ “ไวรัสโควิด-19” เป็นโรคติดต่ออันตรายในลำดับที่ 14 ของไทย ซึ่งสถานการณ์ของการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 นี้ยังคงรุนแรงอย่างต่อเนื่อง อาจทำให้หลายๆ คนเกิดข้อสงสัยตามมามากมายเกี่ยวกับไวรัสชนิดนี้ โดยเฉพาะไวรัสโควิด-19 สามารถอยู่ในสิ่งแวดล้อมภายนอกได้นานแค่ไหน โดยจาก นพ.พิเชฐ บัญญัติ รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้ให้ข้อมูลระบุว่า โดยธรรมชาติของไวรัส อยู่ด้วยตัวเองไม่ได้ ต้องอาศัยเซลล์ในร่างกายของคนหรือสัตว์ เพื่อที่จะดำรงชีวิตอยู่ หากร่ายกายของคนและสัตว์อยู่ข้างนอก ร่างกายก็จะบอบบางและอ่อนแอลง รวมถึงไวรัสโควิด-1 ด้วย
- หากอยู่ในอากาศ เป็นละอองน้ำมูก น้ำเสมหะ น้ำลาย และ น้ำตา อยู่รอดได้เพียง 5 นาที
- หากอยู่บนวัสดุ เช่น พื้น โต๊ะ ลูกบิดประตู ราวบันได อยู่ได้ 7-8 ชั่วโมง
- อยู่ในเสื้อผ้า ผ้าเช็ดหน้า หรือกระดาษทิชชู่ อยู่ได้ 8-12 ชั่วโมง
- หากอยู่บนโต๊ะ พื้นเรียบ อยู่ได้ 24-48 ชั่วโมง
- อยู่ในน้ำ ได้นานถึง 4 วัน
- และอยู่ในตู้เย็นที่อุณหภูมิต่ำกว่า 4 องศาเซลเซียล อาจจะอยู่ได้ถึง 1 เดือน

ดังนั้นแนะนำให้ประชาชนยึดหลัก กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อโรคไปยังผู้อื่น ควรประกอบอาหารให้สุกก่อนกิน ใช้ช้อนกลางทุกครั้งเมื่อกินอาหารร่วมกันกับผู้อื่น หลีกเลี่ยงการใช้ภาชนะอื่นๆ ร่วมกัน ที่สำคัญล้างมือก่อนและหลังอาหารทุกครั้ง และเมื่อต้องออกไปในที่ชุมชน หรือที่แออัด ควรสวมหน้ากากอนามัย และล้างมือบ่อยๆ
ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก นพ.พิเชฐ บัญญัติ รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
Comments
0 comments